FOMC | photo by wikipedia.org
FOMC | photo by wikipedia.org

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองคำได้แรงหนุนหลักจาก 2 เรื่อง คือ ปัญหาระหว่าง รัสเซีย และ ยูเครน ที่ดูเหมือนจะรุนแรงเพิ่มขึ้น หลังประธานาธิบดี วราดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ยืนยันว่าจะดำเนินการตามแผนจะกว่าจะบรรลุเป้าหมาย

นอกจากนั้น ราคาทองคำยังได้แรงหนุนจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นแรง ทั้งดัชนีเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภค หรือ CPI ที่พุ่งแตะ 8.5% สูงสุดในรอบกว่า 40 ปี

ขณะที่ เงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิต หรือ PPI ก็แตะระดับ 11.2% สุงสุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลตัวเลขนี้ ทำให้ความต้องการทองคำเพิ่มมากขึ้น จนราคาทองคำทะลุแนวต้นที่ 1,980 ดอลลาร์ ได้

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ว่า ตัวเลขในเดือน มี.ค. จะเป็นจุดสูงสุดของอัตราเงินเฟ้อ

โดยมองว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอตัว ผลกระทบพื้นฐาน และปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่คลี่คลายลง อย่างไรก็ดี ตลาดทองคำยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยไม่กลัวที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะใช้นโยบายการเงินที่เข้มข้น

Nicky Shiels

Nicky Shiels Group metals strategist MKS PAMP กล่าวว่า ปัญหาก็คือ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่ก็ยังคงสูงมากกว่า 8% ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯ เตรียมใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงคุณภาพ (QT) ทำให้สภาพคล่องกำลังถูกถอนออก ประกอบกับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงยังคงเป็นลบ และยังถือว่าอยู่ในจุดต่ำมากในระดับประวัติศาสตร์ สิ่งนี้จึงยังคงเป็นแรงหนุนตลาดทองคำ

Frank Holmes

ด้าน Frank Holmes CEO of U.S. Global Investors มองว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะส่งผลกระทบน้อยที่สุดต่อทองคำ และ Bitcoin โดยตลาดทองคำได้มองข้ามการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bp ของเฟด ในการประชุม FOMC ในเดือน พ.ค. และ มิ.ย. แต่กำลังมองว่าการขึ้น 50 bp จะเพียงพอต้องสู้กับเงินเฟ้อหรือไม่

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ยังมองว่าราคาทองคำยังไม่ถึงจุดทดสอบครั้งใหญ่ โดยตอนนี้ราคาทองคำถูกขับเคลื่อนโดยปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และเรื่องอัตราอัตราเงินเฟ้อ

และทองคำจะถูกทดสอบอย่างจริงจังหลังจากที่เฟดเริ่มทำ QT เพราะจะทำให้ตลาดเริ่มจะตึงตัวมากขึ้น ที่ผ่านมานโยบายของเฟดที่ทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE ทำให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และ Crypto ขยายตัว แต่ไม่ใช่ทองคำ และ ทองคำจะถูกทดสอบใหญ่อีกครั้งหลังที่ QT เริ่มต้นขึ้น