ราคาทองคำยังยืนเหนือ $1,750 ไม่ได้ ทำให้ยังต้องเฝ้าจับตาใกล้ชิด แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน และสหรัฐกับรัสเซีย ที่ส่อเค้าร้อนระอุขึ้นมา แต่ปัจจัยที่ยังดึงราคาทองคำไว้ก็คือ บอนด์ยีลด์ และดัชนีดอลลาร์ ที่ยังยืนอยู่ในระดับสูง ส่วนราคาทองคำในประเทศเช้านี้เท่ากับราคาปิดเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาทองคำประจำวันที่ 22 มี.ค. 2564
ทองคำแท่ง
รับซื้อ บาทละ 25,300.00 บาท ขายออก บาทละ 25,400.00 บาท
ทองรูปพรรณ
รับซื้อ บาทละ 24,847.24 บาท ขายออก บาทละ 25,900.00 บาท
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ 1,755 ดอลลาร์ หลังจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ย 0-0.25% พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2566 และมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) วงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไป รวมถึงความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ หลังจากการประชุมของเจ้าหน้าที่ระดับสูงระหว่าง 2 ประเทศจบลงโดยไร้ความคืบหน้า และความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ก็ย่ำแย่ลง หลัง ปธน. ไบเดน กล่าวหาว่า ปธน.ปูติน เป็นฆาตกร
แต่ปัจจัยที่ยังฉุดรั้งราคาทองคำไว้ก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ได้เพิ่มขึ้นแตะ 1.75% และเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ทำให้ราคาทองคำมาปิดตลาดที่ 1,745 ดอลลาร์ ก่อนที่เช้านี้ ราคาทองคำจะเปิดตลาดในแดนลบ โดยราคาทองคำมาทำจุดต่ำสุดที่ 1,732 ดอลลาร์ ก่อนจะมีแรงรีบาวด์ขึ้นมาเคลื่อนไหวแถว 1,740 ดอลลาร์ (ดูชาร์ตการเคลื่อนไหวราคาทองคำ..)

ทั้งนี้ปัจจัยที่กดดันราคาทองคำแต่เช้าคือจากการพุ่งขึ้นของดัชนีดอลลาร์ มาอยู่ที่ 91.99 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี อยู่ที่ 1.686% ขณะที่ราคาทองคำในประเทศที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคำ เช้านี้ยังคงเท่ากับราคาปิดเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (ดูตารางราคาทองคำของสมาคมค้าทองคำ )
สัปดาห์นี้ติดตามการแถลงของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ,การกล่าวสุนทรพจน์นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ,จีดีพีไตรมาส 4 ของสหรัฐ ,การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศในสัปดาห์นี้มีหลายตัว อาทิ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและดัชนี PMI ภาคบริการเดือน มี.ค. ,ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ. ,ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.
ไปดูการคาดการณ์กรอบการเคลื่อนไหวราคาทองคำวันนี้
แนวต้าน 1,751 ดอลลาร์ 1,755 ดอลลาร์ และ1,760 ดอลลาร์
แนวรับ 1,729 ดอลลาร์ 1,725 ดอลลาร์ และ 1,720 ดอลลาร์
(อ่านบาทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..)
จุดขาย 1,745 ดอลลาร์ หรือบาทละ 25,460 บาท
จุดซื้อ 1,727 ดอลลาร์ หรือบาทละ 25,250 บาท
(อ่านบาทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..)
แนวต้าน 1,759 ดอลลาร์ 1,776 ดอลลาร์ และ1,787 ดอลลาร์
แนวรับ 1,717 ดอลลาร์ 1,707 ดอลลาร์ และ 1,690 ดอลลาร์
แนวต้าน 1,750 ดอลลาร์ 1,755 ดอลลาร์ และ1,764 ดอลลาร์
แนวรับ 1,736 ดอลลาร์ 1,730 ดอลลาร์ และ 1,720ดอลลาร์
(อ่านบาทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..)
แนวรับ 1,720 ดอลลาร์ และ 1,700 ดอลลาร์
แนวต้าน 1,750 ดอลลาร์ และ 1,760 ดอลลาร์
หมายเหตุ : เนื้อหาข้างต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ใช่การชักชวนให้ซื้อ-ขาย หรือลงทุน หรือเป็นเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ และอาจะไม่สะท้อนถึงความเห็นของ GoldAround.com ทั้งนี้ทีมงานไม่ยอมรับความผิดในความสูญเสีย และหรือ ความเสียหายที่เกิดจากการใช้ข้อมูลข้างต้น
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.