คำแนะนำ       เปิดสถานขาย$1,786-1,792

จุดทำกำไร    ซื้อคืนเพื่อทำกำไร $1,763-1,747

ตัดขาดทุน     ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,809

แนวรับ : 1,763 1,747 1,729  แนวต้าน : 1,792 1,809 1,824

สรุป

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลงถึง 29.75 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ในช่วงเช้าของตลาดเอเชีย ราคาทองคำจะทะยานขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน หรือ ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. บริเวณ 1,809.91 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดัชนีดอลลาร์ หลังวานนี้เงินหยวนในประเทศพุ่งขึ้นราว 1.4% แตะระดับสูงถึง 6.9507 ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. ขานรับการที่จีนผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19

อย่างไรก็ดี ราคาทองคำปรับตัวลงในเวลาต่อมา ส่วนหนึ่งได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรหลังจากราคาทองเข้าสู่สภาวะซื้อมากเกินไป(Overbought) ประกอบกับดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นขานรับการเปิดเผยดัชนีภาคบริการของสหรัฐจาก ISM ที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.5 ในเดือนพ.ย. จาก 54.4 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2020 อีกทั้งยังสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 53.1 ส่วนคำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1% ในเดือนต.ค.

เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 0.7% ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนการฟื้นตัวของภาคบริการและภาคการผลิต ซึ่งจะสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปี 2023 สถานการณ์ดังกล่าว หนุนให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.72% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้น 9.6 bps สู่ระดับ 3.599% ซึ่งเป็นปรับตัวขึ้นในรายวันที่มากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์จนกดดันให้ราคาทองคำดิ่งลงแรงสู่ระดับต่ำสุดบริเวณ 1,765.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -2.03 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดุลการค้าของสหรัฐ

ข่าวสารประกอบการลงทุน

  • (+) จีนอาจประกาศ 10 มาตรการใหม่ผ่อนคลายคุมโควิดวันพุธนี้ แหล่งข่าวสองคนเปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า จีนอาจประกาศ 10 มาตรการใหม่เพื่อผ่อนคลายการคุมโควิด-19 อย่างเร็วที่สุดในวันพุธนี้ (7 ธ.ค.) หลังจากที่มีการประกาศ 20 มาตรการผ่อนคลายเมื่อเดือนพ.ย. ซึ่งบังคับใช้ทั่วประเทศ แหล่งข่าวยังเปิดเผยด้วยว่า โรคโควิด-19 อาจถูกปรับลดระดับจากโรคติดเชื้อระดับ A ซึ่งเป็นระดับสูงสุด สู่โรคติดเชื้อระดับ B อย่างเร็วที่สุดในเดือนม.ค.ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการด้านสุขภาพแห่งชาติของจีน (NHC) ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้แต่อย่างใด
  • (-) สหรัฐเผยคำสั่งซื้อภาคโรงงานเพิ่มขึ้น 1% ในเดือนต.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 0.7%
  • (-) ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐดีดตัวแตะ 56.5 ในเดือนพ.ย. สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.5 ในเดือนพ.ย. จาก 54.4 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2563 นอกจากนั้นยังสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 53.1
  • (-) ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐเดือนพ.ย. หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 46.2 ในเดือนพ.ย. จาก 47.8 ในเดือนต.ค. และใกล้เคียงกับตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 46.1
  • (-) ดอลลาร์แข็งค่า รับคาดการณ์เฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (5 ธ.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.71% แตะที่ระดับ 105.2920 ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 136.64 เยน จากระดับ 134.47 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9426 ฟรังก์ จากระดับ 0.9377 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3589 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3463 ดอลลาร์แคนาดา และแข็งค่าเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดนที่ระดับ 10.4005 โครนา จากระดับ 10.3254 โครนา   ส่วนยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0495 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0537 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2176 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2289 ดอลลาร์

ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)