คำแนะนำ เปิดสถานะซื้อ $1,786-1,765
จุดทำกำไร ขายเพื่อทำกำไร $1,807-1,824
ตัดขาดทุน ตัดขาดทุนสถานะซื้อหากหลุด $1,765
แนวรับ : 1,786 1,765 1,748 แนวต้าน : 1,807 1,824 1,842
สรุป
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 34.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดัชนีดอลลาร์ ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันจากหลายปัจจัย อาทิ
(1.) ถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ระบุว่า เฟดจะ “ชะลอ” การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนธ.ค.
(2.) เงินเฟ้อของสหรัฐอาจ “ผ่านจุดสูงสุด” ไปแล้ว เห็นได้จากดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3%
(3.) ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐจาก ISM ปรับตัวลงมากกว่าคาดสู่ระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2020 และสะท้อนว่าภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ในภาวะหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง
(4.) ถ้อยแถลงของนางมิเชล โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการเฟด ที่กล่าวว่า เฟดควร “ชะลอ” การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อประเมินผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ย สถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่าวงจรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดใกล้จะถึงจุดสูงสุดแล้ว สะท้อนจาก Fed funds futures ที่บ่งชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยสูงสุด (terminal rate) ของเฟดจะแตะ 4.866% ในเดือนพ.ค.ปีหน้า ซึ่งลดลงจากระดับเหนือ 5% เมื่อต้นสัปดาห์ ปัจจัยที่กล่าวมากดดันให้ดัชนีดอลลาร์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. ที่ 104.56
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 สัปดาห์ที่ 3.5048% จนเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำให้ทะยานขึ้นทดสอบระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนครึ่งที่ 1,803.78 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.45 ตัน สำหรับวันนี้จับตาการเปิดเผยตัวเลขในตลาดแรงงานของสหรัฐ
ข่าวสารประกอบการลงทุน
- (+) สหรัฐเผยดัชนี PCE บ่งชี้เงินเฟ้อผ่านจุดพีค กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 6.0% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวจากระดับ 6.3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนต.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากดีดตัวขึ้น 0.3% เช่นกันในเดือนก.ย. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3% หลังจากดีดตัว 0.5% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐานเพิ่มขึ้น 5.0% ในเดือนต.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากเพิ่มขึ้น 5.2% ในเดือนก.ย.
- (+) ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐหดตัวครั้งแรกรอบกว่า 2 ปี สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 49.8 จากระดับ 50.2 ในเดือนต.ค.
- (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 194.76 จุด กังวลภาคการผลิตสหรัฐหดตัว ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (1 ธ.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี ซึ่งทำให้ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,395.01 จุด ลดลง 194.76 จุด หรือ -0.56%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,076.57 จุด ลดลง 3.54 จุด หรือ -0.09% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,482.45 จุด เพิ่มขึ้น 14.45 จุด หรือ +0.13%
- (+) ดอลล์อ่อนค่า หลังเงินเฟ้อชะลอตัว-เฟดส่งสัญญาณผ่อนคันเร่งขึ้นดบ. ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (1 ธ.ค.) หลังมีรายงานบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังถูกกดดันจากการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค. ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 1.15% แตะที่ระดับ 104.7300 ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 135.24 เยน จากระดับ 137.99 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9367 ฟรังก์ จากระดับ 0.9455 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3427 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3443 ดอลลาร์แคนาดา และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับโครนาสวีเดน ที่ระดับ 10.3088 โครนา จากระดับ 10.5042 โครนา ส่วนยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 1.0522 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0414 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2257 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2055 ดอลลาร์
ขอขอบคุณ : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)